ในปี พ.ศ. 2428
พวกฮ่อได้รวมตัวก่อการร้ายกำเริบเสิบสานขึ้นอีก
ในมณฑลลาวพวนและฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง
และมีท่าทีจะรุนแรง
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ
เป็นแม่ทัพใหญ่ฝ่ายใต้ และเจ้าหมื่นไวยวรนาถเป็นแม่ทัพใหญ่ฝ่ายเหนือ
ไปทำการปราบปรามพวกฮ่อ
ในเวลานั้นเมืองอุดรธานีก็ยังไม่ปรากฏชื่อ
เพียงแต่ปรากฏชื่อ "บ้านหมากแข้ง"
หรือ "บ้านเดื่อหมากแข้ง" สังกัดเมืองหนองคาย
ขึ้นการปกครองกับมณฑลลาวพวน
และกรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคมแม่ทัพใหญ่ฝ่ายใต้
ได้เดินทัพผ่านบ้านหมากแข้ง
ไปทำการปราบปรามพวกฮ่อจนสงบ
ภายหลังการปราบปรามฮ่อสงบแล้ว
ไทยมีกรณีพิพาทกับฝรั่งเศส
เนื่องจากฝรั่งเศลต้องการลาว เขมร และญวนเป็นอาณานิคม เรียกว่า "กรณีพิพาท ร.ศ. 112
(พ.ศ. 2436)"
ด้วยพระปรีชาญาณ
ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ที่ทรงยอมเสียสละ
ส่วนน้อยเพื่อรักษาประเทศไว้
จึงทรงสละดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงให้แก่ฝรั่งเศส
และตามสนธิสัญญาที่ทำขึ้นระหว่าง 2 ประเทศ
มีเงื่อนไขห้ามประเทศสยามตั้งกองทหารและป้อมปราการ
อยู่ในรัศมี 25
กิโลเมตรของฝั่งแม่น้ำโขง
ดังนั้น หน่วยทหารไทยที่ตั้งประจำอยู่ที่เมืองหนองคาย
อันเป็นเมืองศูนย์กลางของหัวเมืองหรือมณฑลลาวพวน
ซึ่งมีกรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม
เป็นข้าหลวงใหญ่สำเร็จราชการ
จำต้องอพยพเคลื่อนย้ายลึกเข้ามาจนถึงหมู่บ้านแห่งหนึ่ง
ชื่อบ้านเดื่อหมาก
แข้ง (ซึ่งเป็นที่ตั้งจังหวัดอุดรธานีปัจจุบัน) ห่างจากฝั่งแม่น้ำโขงกว่า
50 กิโลเมตร เมื่อทรงพิจารณาเห็นว่าหมู่บ้านแห่งนี้มีชัยภูมิเหมาะสม
เพราะมีแหล่งน้ำดี เช่น หนองนาเกลือ (หนองประจักษ์ปัจจุบัน)
และหนองน้ำอีกหลายแห่งรวมทั้งห้วยหมากแข้งซึ่งเป็นลำห้วยน้ำใสไหลเย็น
กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม
ทรงบัญชาให้ตั้งศูนย์มณฑลลาวพวน
และตั้งกองทหารขึ้น
ณ หมู่บ้านเดื่อหมากแข้ง
จึงพอเห็นได้ว่าเมืองอุดรธานีได้อุบัติขึ้นโดยบังเอิญ
เพราะเหตุผลทางการเมืองระหว่างประเทศ
ยิ่งกว่าเหตุผลทางการค้า การคมนาคม
หรือเหตุผลอื่นดังเช่นหัวเมืองสำคัญต่าง ๆ ในอดีต
อย่างไรก็ตามคำว่า "อุดร"
มาปรากฏชื่อเมื่อปี พ.ศ. 2450
(พิธีตั้งเมืองอุดรธานี 1 เมษายน ร.ศ. 127 พ.ศ. 2450)
โดยพระยาศรีสุริยราช
วรานุวัตร “โพธิ์ เนติโพธิ์”
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ได้มีกระแสพระบรมราชโองการให้จัดตั้ง
เมืองอุดรธานีขึ้น
ที่บ้านหมากแข้ง อยู่ในการปกครองของมณฑลอุดร.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น